วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 104 วันอังคาร เวลา 15:00-17:30 น.

เนื้อหา
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
            1. เพื่อให้ผู้สอนวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
            2. เพื่อให้ผู้สอนนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
            ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
            ขั้นที่ 2 ระดมความคิด
            ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
            ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ
            ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประสบการณ์

ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง
    1. จากการสังเกตความสนใจ ความต้องการของเด็ก(ตามสภาพชีวิตจริงของเด็ก)
    2. เลือกเรื่องที่ชัดเจน ไม่กว้างจนเกินไป สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ได้
                        - ไม่ควรเลือก : สัตว์  คมนาคม  ฯลฯ (หัวข้อใหญ่มาก)
                        - ควรเลือก : ช้าง สุนัข ผีเสื้อ บ้าน น้ำ รถไฟ ฯลฯ

ขั้นที่ 2 ระดมความคิด


ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม
    1. ตามความคิดริเริ่มของเด็ก / ครู
    2. แยกตามกิจกรรมหลัก
            -  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่น เคลื่อนไหวประกอบจังหวะ เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
            - กิจกรรมสร้างสรรค์ (ศิลปะ) เช่น วาดภาพอิสระ  ประดิษฐ์เศษวัสดุ  ทำเครื่องเคาะ  ปั้นแป้งโดว์  ระบายสี
            - กิจกรรมเสรี (การเล่นตามมุม) เช่น บทบาทสมมติ  เล่นตามมุมต่างๆ
            - กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม) เช่น สนทนาเกี่ยวกับสาย  สังเกตสภาพอากาศ ทดลองการเกิด คาดคะเน / นับสีสาย อ่านหนังสือ / ทำหนังสือ
            - กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เป่าฟองสบู่ เล่นเครื่องเล่นสนาม ข้ามสิ่งกีดขวาง
            - กิจกรรมเกมการศึกษา จับคู่ภาพ จำแนกสี  เรียงลำดับเหตุการณ์  
เล่นภาพตัดต่อ


ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการ


ขั้นที่ 5 จัดกิจกรรมตามตารางประจำวัน
            ทำบันทึกการสอน
                - พิจารณากิจกรรมใดทำก่อนหลัง
                - จัดกิจกรรมลงตามรูปแบบที่ให้เลือก
            รูปแบบการจัดประสบการณ์
รูปแบบที่ 1

แบบการจัดประสบการณ์แต่ละวันเขียนแยกตามกิจกรรมประจำวัน

รูปแบบที่ 2

เขียนแยกเป็นวันเฉพาะกิจกรรมหลักและดำเนินการสอนตามตารางกิจวัตรประจำวัน
รูปแบบที่ 3
เขียนแยกตามพัฒนาการในแต่ละวัน แล้วนำไปจัดตามตารางกิจกรรมประจำวัน

         ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์

ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์แบบที่ 1



ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์แบบที่ 2
         


ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์แบบที่ 3


แนวการประเมินผลการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
ž    - ประเมินผลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ ทักษะและกระบวนการ เจตคติ   คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมรวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ž    - วิธีวัดและประเมินผลสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัยที่กำหนด
ž    - ประเมินผลอย่างตรงไปตรงมา และประเมินภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่
ž    - ผลการประเมินต้องนำไปสู่การแปรผลและลงข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
ž    - มีความเที่ยงตรงเป็นธรรม ทั้งในด้านของวิธีวัดและโอกาสของการประเมิน
ž     แนวทางการให้คะแนนเพื่อการประเมิน
ž                - แนวทางการประเมินจากสภาพจริง ให้ความสำคัญต่อการแสดงออกที่แท้จริงของผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
ž                - งานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนทำมีแนวไปสู่ความสำเร็จของงานและมีวิธีการหาคำตอบหลากหลายแนวทาง
ž                - ต้องมีการกำหนดแนวทางการให้คะแนนอย่างชัดเจน จะต้องมีมาตรวัดว่าผู้เรียนทำอะไรได้สำเร็จและระดับความสำเร็จอยู่ในระดับใด



การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการจัดประสบการณ์หน่วย


ž    
                                          ส่งงาน ปั้นดินน้ำมนใส่ตลับแผ่นซีดี




ž     
ž  ž  การประยุกต์ใช้
ž                - สามารถสร้างแผนการจัดประสบการณ์ได้ถูกต้องมากขึ้น
ž                - ได้เรียนรู้ตัวอย่างการจัดแผนดารสอนในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย
ž                - การเขียนแผนการสอนจะทำให้ผู้สอนสอนได้ตรงตามเป้าหมายและมีแบบแผนมากขึ้น
ž                - เห็นถึงความสำคัญในการเรียนศิลปะ
ž                - ได้รู้เทคนิคต่างๆสามารถนำไปสอนเด็กให้เข้าใจได้อย่างง่าย

ž            การประเมิน
ž              ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำงานตามเวลาที่กำหนด
ž                เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสวยงาม หลากหลายรูปแบบ
ž                ผู้สอน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ อาจารย์มีความพร้อมในการสอน สอนแบบเข้าใจง่าย และพูดเนื้อหาครบถ้วนทำให้เข้าใจหลักของการเขียนแผนในวิชาศิลปะมากขึ้นและทำให้รื้อฝืนความรู้เพิ่มเติมของการเขียนแผนในวิชาอื่นๆอีกด้วย   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น